2 มีนาคม 2554

Let me introduce you the nutrition bedding products and personal pillow

อันที่จริงคอนเซ็ปต์ “Personal pillow” นั้นไม่ใช้เรื่องใหม่ โดยเฉพาะในอเมริกาซึ่งให้ความสำคัญกับการนอนหลับเป็นอย่างมากจนถึงกับจัดตั้ง National Sleep Foundation ขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราว หรือแม้แต่โรงแรมระดับห้าดาว หลายแห่งก็ใช้เมนูหมอน (Pillow Manu) เพิ่มระดับความหรูหราให้แก่โรงแรมอีกด้วย
          และด้วยกระแสดูแลสุขภาพที่มีมากขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการนอน หมอนจึงไม่ได้มีแค่นุ่น ขนเป็ด หรือใยสังเคราะห์เท่านั้น แต่ยังมีวัสดุใหม่ๆที่ถูกคิดค้นและวิจัยเพื่อนำมาเป็นวัสดุในการทำไส้หมอนเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคในการนอนของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด
          
ขนอ่อนของเป็ด ขนอ่อนของห่านหรือ ขนนกผสมขนเป็ด ให้สัมผัสที่นุ่มฟูและแน่ คืนตัวได้ดีและรวดเร็วมากโดยเฉพาะขนห่าน และก็มีราคาที่แพงมากเช่นกันโดยเฉพาะขนห่าน ไม่เหมาะกับคนที่เป็นภูมิแพ้


 กลุ่มวัสดุสังเคราะห์ เช่น ใยสังเคราะห์ และไมโครไฟเบอร์ ให้สัมผัสนุ่ม ปราศจากไรฝุ่น เหมาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ขนสัตว์ ราคาถูกแต่ไม่คงทน,เมมเมอรี่ โฟม (Memory Foam) เป็นวัสดุพิเศษ เป็นหมอนที่มีส่วนโค้งรองรับกับกระดูกต้นคอ ศรีษะ หัวไหล่ และหลัง ไม่นิ่มฟู หรือยางพารา (Latex) เป็นหมอนที่มีส่วนโค้งเว้าเช่นกัน แต่แข็งกว่า และระบายอากาศได้ไม่ดีนัก



หมอนสมุนไพร ทำจากแกลบผสมสมุนไพรหอม เช่น กุหลาบ ใบเตย ใบยูคาลิปตัส หรือกลีบดองลาเวนเอดร์ เป็นต้น แกลบช่วยพยุงศรีษะ และต้นคอ ส่วนกลิ่นหอมของสมุนไพรนั้นจะช่วยให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และหลับสนิทดียิ่งขึ้น



หมอนธัญพืช ถือเป็นไส้หมอนอีกกลุ่มหนึ่งที่มาแรงในระยะหลัง เช่น หมอนที่ทำจากเปลือกโซบะ(Buckwheat Hull) ซึ่งหมอนชนอดนี้ใช้กันมานานแล้วในญี่ปุ่น ลักษณะคล้ายถุงทรายจึงปรับระดับสูงต่ำของรูปทรงได้ตามต้องการ ถ่ายเทอากาศและยังระบายความชื่นได้ดี แต่มีเสียงดังบ้างเมื่อขยับศรีษะ และอาจต้องระวังแมลงบางชนิด



นอกจากนี้ยังมีไส้หมอนอื่นๆ เช่น ฟองน้ำญี่ปุ่น หญ้าญี่ปุ่นบางชนิด หรือถ่านไม้ไผ่ที่ช่วยเพิ่มกลิ่นของธรรมชาติ รักษาระดับความชื้นในหมอนไม่ให้แห้งหรือชื้นจนเกินไป ขณะที่ภ่านไม้ไผ่ยังมีประจุลบที่ทำให้ระบบประสาทผ่อนคลาย และดูดซับกลิ่นได้ด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น